logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เคมี
  • เคมีของอินดิเคเตอร์

เคมีของอินดิเคเตอร์

โดย :
สุภาวดี สาระวัน
เมื่อ :
วันจันทร์, 01 มิถุนายน 2563
Hits
15573

          อินดิเคเตอร์ (Indicator) คือ สารที่ใช้บอกความเป็นกรด-เบส ของสารละลายได้อย่างหนึ่ง สารประกอบที่เปลี่ยนสีได้ที่ pH เฉพาะตัว จะถูกนำมาใช้เป็นอินดิเคเตอร์ได้ เช่น ฟีนอล์ฟทาลีน จะไม่มีสีเมื่ออยู่ในสารละลายกรด และจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู เมื่ออยู่ในสารละลายเบสที่มี pH 8.3 ซึ่งสีของอินดิเคเตอร์

          แต่ละชนิด จะเปลี่ยนในช่วง pH ที่ต่างกัน ซึ่งแสดงได้ดังภาพ

11238 2

ภาพที่ 1 ค่า pH ของอินดิเคเตอร์แต่ละชนิด
ที่มา https://il.mahidol.ac.th/e-media/acid-base/C8.HTM

11238 edit1

ภาพที่ 2 ค่า ph ค่า pH บอกค่าความเป็นกรด-กลาง-ด่าง
ที่มา https://www.freepik.com/premium-vector/ph-value-scale-meter-acid-alkaline-solutions_6332240.htm#position=4

          การหา pH ของสารละลายโดยใช้อินดิเคเตอร์หลาย ๆ ชนิดนี้ ไม่สะดวกในการใช้จึงมีการคิดที่จะนำอินดิเคเตอร์หลาย ๆ ชนิด ซึ่งเปลี่ยนสีในช่วง pH ต่าง ๆ กันมาผสมกันในสัดส่วนที่เหมาะสม จะสามารถใช้บอกค่า pH ของสารละลายได้ละเอียดขึ้น อินดิเคเตอร์ผสมนี้เรียกว่า ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ ซึ่งสามารถเปลี่ยนสีได้ในสารละลายที่มี pH ต่าง ๆ กันเกือบทุกค่า

          การใช้ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ หยดยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ลงในสารละลายที่ต้องการหาค่า pH ประมาณ 3 หยดต่อสารละลาย 3 cm3 สังเกตสีของสารละลายแล้วเปรียบเทียบกับสีมาตรฐานของยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ที่ pH ต่าง ๆ ว่าสีของสารละลายตรงกับสีมาตรฐานที่ pH ใด ก็จะมีค่าเท่ากับ pH นั้น

อินดิเคเตอร์มีประโยชน์อย่างไรในปฏิกิริยาเคมี?

          ตามที่ได้กล่าวถึงก่อนนี้ว่า อินดิเคเตอร์ คือสารที่ใช้บอกความเป็นกรด-เบส ของสารละลาย ซึ่งปฏิกิริยาในการสังเกตว่ากรดหรือเบสทำปฏิกิริยากัน ณ จุดใดนั้น เราต้องทำการไทเทรตเพื่อหาจุดยุติหรือจุดสมมูลของการเกิดปฏิกิริยาดังกล่าว ซึ่งการไทเทรต คือ วิธีการทางปริมาณวิเคราะห์ (Quantitative Analysis) ใช้ในการหาปริมาตรของสารละลายมาตรฐาน (สารละลายที่เราทราบความเข้มข้นที่แน่นอนแล้ว) ที่ทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายอื่นซึ่งทราบปริมาตร แต่ยังไม่ทราบความเข้มข้น เพื่อนำค่าปริมาตรที่ได้มาคำนวณหาความเข้มข้นของสารละลายอื่นนั้น

          สำหรับการไทเทรตทุกชนิด จุดที่สารที่เรานำมาไทเทรตทำปฏิกิริยากันพอดี เราเรียกว่า จุดสมมูลหรือจุดสะเทิน (Equivalence Point) จุดที่กรดทำปฏิกิริยากันพอดีหรือสะเทินพอดีกับเบส ส่วนจุดที่อินดิเคเตอร์ (Indicator) เปลี่ยนสี เราเรียกว่า จุดยุติ (End Point) ซึ่งเป็นจุดที่เราจะยุติการไทเทรต โดยถ้าเราใช้อินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมจะทำให้จุดยุติตรงกับจุดสมมูลหรือใกล้เคียงกับจุดสมมูลมาก แต่ถ้าเราใช้อินดิเคเตอร์ไม่เหมาะสมอาจจะทำให้จุดยุติอยู่ห่างจากจุดสมมูลมาก ทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนได้

11238 3

ภาพที่ 2 การไทเทรตกรด-เบส

ที่มา https://www.pixabay.com, OpenClipAart-Vectors

 อินดิเคเตอร์ในธรรมชาติ (Natural indicator)

           จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าอินดิเคเตอร์ที่ถูกใช้ในการไทเทรตนั้นส่วนใหญ่มาจากการสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งในประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการหันมาใช้อินดิเคเตอร์จากธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น นอกจากจะช่วยลดการใช้สารเคมีแล้วนั้น ยังมีงานวิจัยถึงคุณสมบัติของสารในธรรมชาติเพื่อนำมาใช้เป็นอินดิเคเตอร์อีกหลายๆ หน่วยงานและองค์กรได้ทำการศึกษาอินดิเคเตอร์จากธรรมชาติมากมาย  เช่นเดียวกับงานวิจัยของมหาวิทยาลัยบูรพาที่นำเอาพืชในท้องถิ่น เช่น แก่นฝาง และหมามุ่ยมาสกัดและทำเป็นอินดิเคเตอร์ ซึ่งพบว่าพืชทั้งสองชนิดสามารถนำมาใช้เป็นอินดิเคเตอร์ในปฏิกิริยาเคมีได้ไม่แตกต่างกับสารเคมีอื่นๆ ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการเลย หรือหลายๆ งานวิจัยนำเอาสารสกัดจากเปลือกแก้วมังกรมาใช้เป็นอินดิเคเตอร์  นอกจากนี้ยังมีอินดิเคเตอร์จากธรรมชาติอีกหลายๆ ชนิดที่น่าสนใจ เช่น ดอกอัญชัญ  ดอกเฟื่องฟ้า ดอกชบา ช้องนาง ขมิ้นชัน ใบเตย  กะหล่ำปลีม่วง เปลือกมังคุด กระเจี๊ยบ  เป็นต้น

ตารางที่ 1 ค่า pH ของอินดิเคเตอร์จากธรรมชาติ

ชนิดของพืช

ช่วง pH ที่เปลี่ยนสี

สีที่เปลี่ยน

ดอกอัญชัน

1-3

แดง-ม่วง

ดอกกระเจี๊ยบ

6-7

แดง-เขียว

ขมิ้นชัน

6-7

เหลืองส้ม

ขมิ้นชัน

11-12

ส้ม-น้ำตาล

ชบาซ้อน

7-8

แดง-เขียว

ดาวเรืองเหลือง

9-10

ไม่มีสี-เขียว

กล้วยไม้

10-11

ไม่มีสี-เหลือง

  

แหล่งที่มา

มหาวิทยาลัยมหิดล. Learning Science วิชาเคมี เรื่อง กรด-เบส. อินดิเคเตอร์สำหรับกรด-เบส: การเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2562. จาก https://il.mahidol.ac.th/e-media/acid-base/C8.HTM 

รศ.ดร. ศุภจิตรา ชัชวาลย,ผศ.ดร. กนกวรรณ. เสรีภาพการทดลอง เรื่องสีสันแห่งธรรมชาติ.สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2562. จาก https://www.enjoy-science.org/wp-content/uploads/2017/10/TCU_Book_2.pdf

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หนังสือแบบเรียนเคมีเพิ่มเติม เล่ม 4 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560. สารละลาย: การไทเทรตกรด-เบส. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
อินดิเคเตอร์คืออะไร, อินดิเคเตอร์, การเปลี่ยนสี, ไทเทรต, จุดยุติ, สารใช้บอกความเป็นกรดเบส
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 09 ธันวาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภาวดี สาระวัน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เคมี
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11238 เคมีของอินดิเคเตอร์ /article-chemistry/item/11238-2019-12-19-06-28-55
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
เทคนิคการจำแนกภาพ Image Processing แบบไอเกนเฟซ (Eigenface)
เทคนิคการจำแนกภาพ Image Processing แบบไอ...
Hits ฮิต (17761)
ให้คะแนน
ตามที่ก่อนหน้านี้เราเคยนำเสนอบทความเกี่ยวกับ Face recognition หรือ การจดจำใบหน้า ซึ่งเป็นการตรวจหาห ...
6G โครงข่ายในอีก 10 ปีข้างหน้า
6G โครงข่ายในอีก 10 ปีข้างหน้า
Hits ฮิต (9595)
ให้คะแนน
ปัจจุบันประเทศไทยเรากำลังใช้งานโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือที่เรียกว่า 4G ที่อาจเรียกไ ...
การปรับตัวในการทำงานอย่างสมาร์ต ๆ
การปรับตัวในการทำงานอย่างสมาร์ต ๆ
Hits ฮิต (12424)
ให้คะแนน
ยุคดิจิทัลเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงที่ทุกคนต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อให้ทันต่อโลกทันต ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)