logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ฟิสิกส์
  • Helical Engine เครื่องยนต์ที่จะพาเราข้ามอวกาศ

Helical Engine เครื่องยนต์ที่จะพาเราข้ามอวกาศ

โดย :
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
เมื่อ :
วันจันทร์, 09 มีนาคม 2563
Hits
8096

          ครั้งหนึ่ง “เครื่องจักรไอน้ำ” ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องจักรกลที่เปลี่ยนแปลงโลกเราไปตลอดกาล ต่อมาการเกิดขึ้นของ “เครื่องยนต์ลูกสูบ หรือ เครื่องยนต์สันดาปภายใน” ได้เกิดขึ้นมาเป็นคลื่นระลอกใหม่ของวงการวิศวกรรมอีกครั้ง แต่การพัฒนาของเครื่องยนต์ก็ไม่เคยหยุดนิ่งเฉกเช่นเดียวกับหน้าที่ในการขับเคลื่อนพาหนะต่าง ๆ ไปข้างหน้าของเครื่องยนต์ เครื่องยนต์ไอพ่นจึงได้ถือกำเนิดเป็นลำดับถัดมา แต่แล้วเมื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ พัฒนาไปมากขึ้น ความต้องการเรียนรู้ของมนุษย์มีมากขึ้น ความต้องการทำลายขีดจำกัดเดิม ๆ ยังคงอยู่ การเดินทางข้ามอวกาศจึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญ เป็นวาระหนึ่งของมนุษยชาติในขณะนี้ แต่ด้วยเครื่องยนต์ที่เราใช้กันอยู่ในตอนนี้แม้จะเป็นเครื่องยนต์ไอพ่นจรวดที่ใหญ่ที่สุดก็ยังไม่สามารถพาเราข้ามอวกาศที่มีระยะทางแสนไกลหลายล้านปีแสงได้ภายในอายุขัยของมนุษย์ ดังนั้นแนวคิดใหม่ ๆ ของการพัฒนาเครื่องยนต์จึงเกิดขึ้นอย่างเช่น "Helical Engine"

11202 edit1

ภาพการเดินทางของยานอวกาศขึ้นสู่อวกาศ

ที่มา https://unsplash.com/collections/1297037/growth ,SpaceX

          แต่ก่อนที่เราจะเล่าถึงแนวคิดของ “Helical Engine” จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องรู้คร่าว ๆ ก่อนว่ายานอวกาศในปัจจุบันใช้เครื่องยนต์อะไรในการเดินทางและใช้หลักการอะไร?

          ในปัจจุบันนี้เครื่องยนต์ของเครื่องบินและยานอวกาศเป็นเครื่องยนต์ไอพ่น (Jet Engine) ที่ใช้หลักการของกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตันในการขับเคลื่อน  “แรงที่วัตถุที่หนึ่งกระทำต่อวัตถุที่สอง ย่อมเท่ากับ แรงที่วัตถุที่สองกระทำต่อวัตถุที่หนึ่ง แต่ทิศทางตรงข้ามกัน” กล่าวคือ เครื่องยนต์ไอพ่นจะออกแรงกระทำไปในทิศทางด้านหลังแล้วจึงเกิดเป็นแรงปฏิกิริยาในทิศสวนกันผลักให้เครื่องบินหรือยานอวกาศเคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือขึ้นสู่ท้องฟ้าได้

          ด้วยหลักการนี้สามารถทำให้มนุษย์สามารถเดินทางข้ามประเทศ ข้ามทวีป หรือออกนอกโลกไปดวงจันทร์ได้ แต่ไม่เพียงพอที่จะใช้เครื่องยนต์นี้ในการสำรวจอวกาศในที่ระยะทางในหน่วยปีแสงได้

          ปี 2016 Roger Shawyer ได้เสนอแนวคิดเครื่องยนต์ EM Drive (Electromagnetic Drive) และตีพิมพ์งานวิจัยที่เกี่ยวกับ EM Drive ลงในวารสาร American Institute of Aeronautics and Astronautics (AIAA) โดยเขาได้อ้างว่าด้วยระบบขับเคลื่อนนี้ที่ใช้กระแสไฟฟ้าในการสร้างคลื่นไมโครเวฟ ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบหนึ่ง ให้กระเด้งไปมาภายในโพรงรูปกรวยเพื่อให้เกิดแรงขับจะสามารถลดระยะเวลาในการเดินทางในอวกาศไปได้เป็นอย่างมาก โดยเราจะใช้เวลาเดินทางไปยังดาวอังคารด้วยเวลาเพียง 70 วัน และไปถึงดาวพลูโตได้ใน 18 เดือน แต่เครื่องยนต์นี้ก็ตกเป็นประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดการถกเถียงไปทั่วโลกเพราะหลักการขับเคลื่อนด้วยวิธีของ EM Drive นั้นค่อนข้างจะขัดกับหลักการของกฎข้อที่ 3 ของนิวตัน คือ แรงกิริยาเท่ากับแรงปฏิกิริยา (Action = Reaction) และกฎการอนุรักษ์โมเมนตัมค่อนข้างมาก

                ปี 2019 วิศวกรคนหนึ่งของ NASA ได้เสนอแนวคิดหนึ่งของเครื่องยนต์เพื่อใช้ในการเดินทางสำรวจและข้ามอวกาศซึ่งอาจทำลายกฎทางฟิสิกส์อีกครั้ง โดยแนวคิดในครั้งนี้ถูกเสนอโดย David Burns ซึ่งเป็นวิศวกรประจำอยู่ที่ NASA’s Marshall Space Flight Center in Alabama เขาได้ตั้งชื่อแนวคิดเครื่องยนต์นี้ว่า “helical engine” หรือ เครื่องยนต์รูปเกลียว และได้ทำนายความสามารถของเครื่องยนต์นี้ว่าจะสามารถขับเคลื่อนยานอวกาศใด ๆ ได้โดยที่ปราศจากการขับดันของเครื่องยนต์ไอพ่นและจะสามารถทำความเร็วได้ถึง 99% ของความเร็วของแสงซึ่งเป็นความเร็วสูงที่สุดที่มนุษย์นั้นเคยรู้จัก (ความเร็วแสงประมาณ 3*108 m/s)

          หลักการเบื้องต้นของเครื่องยนต์นี้เปรียบเสมือนหลักการของเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ที่เราใช้ในการทดลองเร่งความเร็วของอนุภาคไอออนในปัจจุบันแต่แตกต่างที่จะบรรจุอนุภาคมีประจุไฟฟ้าหรือไอออนไว้ในท่อรูปเกลียวที่เป็นสุญญากาศเพื่อไม่ให้มีแรงเสียดทานเกิดขึ้นทั้งยังกักเก็บรวมถึงควบคุมการเคลื่อนที่เป็นวงกลมของอนุภาคไอออนด้วยสนามแม่เหล็กพลังงานสูง  ซึ่งการเร่งความเร็วนี้จะทำให้ไอออนที่ด้านปลายท่อมีความเร็วแตกต่างกับไอออนที่ด้านต้นของท่อเป็นอย่างมากซึ่งความต่างอย่างมหาศาลของความเร็วไอออนทั้งสองฝั่งจะทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ทั้งที่ไม่มีการขับดันของไอพ่น รวมถึงการขับเคลื่อนด้วยวิธีนี้จะไม่ได้รับผลกระทบจากกฎการอนุรักษ์โมเมนตัมอีกด้วย

          ก็คงต้องติดตามกันต่อไปว่าความฝันอันยิ่งใหญ่อย่างการเดินทางเพื่อสำรวจอวกาศของมนุษย์จะเป็นจริงได้หรือไม่ แต่อย่างน้อยก็มีสัญญาณที่ดีว่าทั่วทุกมุมของโลกก็ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้แล้ว  

แหล่งที่มา

ฟิสิกส์ราชมงคล 7. (2559, 2 พฤศจิกายน).  งานวิจัยจาก NASA เกี่ยวกับ EM Drive ได้ตีพิมพ์แล้ว ขั้นต่อไปคือการทดลองในอวกาศ โดย สหรัฐ.  สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2562, จาก http://nuclear.rmutphysics.com/blog-sci7/?p=11268

BBC NEWS. (2562, 16 ตุลาคม).  วิศวกรนาซาเผยแนวคิด "เครื่องยนต์รูปเกลียว" คาดขับเคลื่อนได้เกือบเท่าความเร็วแสง.  สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.bbc.com/thai/features-50061297

Jon Cartwright. (Oct 11 2019).  NASA engineer's 'helical engine' may violate the laws of physics.  Retrieved Nov 2, 2019, from https://www.newscientist.com/article/2218685-nasa-engineers-helical-engine-may-violate-the-laws-of-physics/

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
Helical Engine, NASA, อวกาศ,พาหนะทางอวกาศ
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 02 พฤศจิกายน 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นายภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11202 Helical Engine เครื่องยนต์ที่จะพาเราข้ามอวกาศ /article-physics/item/11202-helical-engine
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
น้ำตาลเทียมอันตรายจริงหรือ
น้ำตาลเทียมอันตรายจริงหรือ
Hits ฮิต (44620)
ให้คะแนน
กระแสด้านการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคถือเป็นเทรนที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะเรื่องน้ำหนักต ...
แกลเลียม (Gallium) ธาตุโลหะสีเงินที่ละลายได้บนฝ่ามือ
แกลเลียม (Gallium) ธาตุโลหะสีเงินที่ละลา...
Hits ฮิต (59718)
ให้คะแนน
แกลเลียม (Gallium) ธาตุโลหะสีเงินที่ละลายได้บนฝ่ามือ แกลเลียม (Gallium) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอ ...
ต้นกำเนิดธาตุกัมมันตรังสี
ต้นกำเนิดธาตุกัมมันตรังสี
Hits ฮิต (10979)
ให้คะแนน
จากที่ทุกคนเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการรั่วไหลของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะของประเทศญี่ปุ่น ที่เกิดเหต ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)