logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ฟิสิกส์
  • การเตะบอลให้โค้งสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางฟิสิกส์

การเตะบอลให้โค้งสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางฟิสิกส์

โดย :
ปทิต จตุพจน์
เมื่อ :
วันพุธ, 01 เมษายน 2563
Hits
9721

          หากเราย้อนกลับไปในฤดูร้อนของปีค.ศ. 1997 ในขณะที่มีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมจากประเทศฝรั่งเศสและทีมจากประเทศบราซิล “โรแบร์โต้ คาร์ลอส (Roberto Carlos)” นักเตะผู้หนึ่งของทีมจากประเทศบราซิลได้ทำการจารึกเหตุการณ์สำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของวงการฟุตบอลเอาไว้ เพราะเขาได้ทำการเตะลูกฟรีคิกที่โค้งสวยงามแบบที่ไม่มีใครในสนามคาดคิดว่ามันจะเกิดขึ้นได้ ลูกฟรีคิกที่ โรแบร์โต้ คาร์ลอส ยิงนั้นอาจเป็นสิ่งอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในสนามแข่งเมื่อปีค.ศ. 1997 แต่ในปัจจุบันลูกฟรีคิกมหัศจรรย์นี้ได้ถูกอธิบายด้วยหลักการฟิสิกส์ที่ง่ายๆที่สามารถเข้าใจได้แบบไม่ยากเย็นเกินไป ซึ่ง Magnus effect หรือปรากฏการณ์แมกนัสคือสิ่งที่ถูกนักฟิสิกส์ใช้ในการอธิบายการเตะลูกฟรีนี้

11212 edit

ภาพที่ 1 ภาพการเตะลูกฟุตบอล

ที่มา https://pixabay.com/th/,taniadimas

          ปรากฏการณ์แมกนัสเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถพบเจอได้ทั่วไปกับวัตถุที่กำลัง “หมุน” ผ่านอากาศหรือของเหลว ซึ่งในกรณีของการเตะลูกฟรีคิกนี้ก็คือการที่ลูกฟุตบอลถูกเตะให้หมุนและวิ่งแหวกอากาศไปนั่นเอง

          เมื่อนักฟิสิกส์ได้ลองสังเกตการณ์เตะลูกบอลของ โรแบร์โต้ คาร์ลอส แล้วพบว่า เขาได้ทำการเตะลูกฟรีคิกโดยที่เท้าของเขานั้นไม่ได้เตะเข้าไปที่จุดศูนย์กลางของลูกฟุตบอลพอดี แต่เป็นที่บริเวณมุมล่างขวาของลูก ส่งผลให้แรงที่เกิดจากการเตะของคาร์ลอสสร้างทอร์ก (Torque) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกฟุตบอลนั้นเกิดการหมุนรอบตัวเองขึ้นในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ลูกบอลที่ถูกเตะออกไปนั่นวิ่งด้วยความเร็วประมาณ 37 เมตรต่อวินาที และเบนออกไปจากประตูเป็นมุมกว่า 12 องศา

11212 2

ภาพที่ 2 ภาพแสดงการไหลของอากาศที่ผ่านวัตถุที่กำลังหมุน

ที่มา https://en.wikipedia.org/ , Rdurkacz

          จากภาพที่ 2 พอพิจารณาต่อที่ลูกบอลที่กำลังหมุนไปในอากาศนั้นจะพบว่า อากาศรอบลูกฟุตบอลนั้นมีการเคลื่อนที่ผ่านลูกบอลทั้งสองด้าน ในด้านที่อากาศไหลไปในทางเดียวกันกับการหมุนของลูกฟุตบอล อากาศบริเวณนั้นจะมีความดันที่ต่ำ (อากาศที่ไหลผ่านลูกบอลทางด้านบนของภาพ) แต่ในด้านที่อากาศไหลสวนทางกับการหมุนของลูกฟุตบอลจะทำให้อากาศบริเวณนั้นมีความดันที่สูงขึ้น (อากาศที่ไหลผ่านลูกบอลทางด้านล่างของภาพ) เมื่อปริมาณความดันอากาศทั้งสองข้างของลูกฟุตบอลไม่เท่ากัน จึงเกิดเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เกิดแรงผลักให้ลูกฟุตบอลเคลื่อนที่ไปทางด้านที่มีความดันต่ำกว่า หรือที่เรียกว่าแรงแมกนัส (Magnus Force) ส่งผลให้ลูกฟรีคิกของคาร์ลอสบินกลับเข้าประตูไปได้อย่างสวยงามนั้นเอง (ในภาพที่ 2 นั้นจะเห็นได้ว่าบอลหมุนตามเข็มนาฬิกาจึงเกิดแรงแมกนัสในทิศพุ่งขึ้น)

           ถึงในทางฟิสิกส์จะสามารถอธิบายได้กระจ่างชัดแล้วก็ตามว่าเหตุการณ์โค้งของลูกฟุตบอลนั้นเกิดได้อย่างไร ก็ยังต้องยอมรับว่าการเตะลูกฟรีคิกของคาร์ลอสนั้นสวยงามอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะการที่จะเตะให้ลูกบอลเลี้ยวเข้าประตูไปได้ จำเป็นที่จะต้องใช้แรงเตะและมุมที่ลูกฟุตบอลจะลอยไปอย่างแม่นยำ เช่น ถ้าหากเตะเบาเกินไป ลูกก็จะหมุนไม่เร็วพอที่จะทำให้เกิดความแตกต่างของความดันอากาศได้ แต่ถ้าเตะแรงไปลูกก็จะโค้งหลังจากที่เลยประตูไปแล้วนั่นเอง เพราะฉะนั้นลูกเตะฟรีคิกโค้งแบบคาร์ลอสจึงเป็นสิ่งที่ได้มากจากการฝึกฝนอย่างหนักหน่วงเท่านั้น หรือไม่ก็อาจจะเป็นโชคช่วยอย่างมหัศจรรย์

           ปรากฏการณ์แมกนัสนั้นถูกตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน Heinrich Gustav Magnus ผู้อธิบายปรากฏการณ์นี้ได้ในปีค.ศ. 1852 แต่ถึงอย่างนั้นปรากฏการณ์ก็เคยได้รับการอธิบายแล้วโดย Isaac Newton ในปีค.ศ. 1672 ภายหลังจากที่เขาได้ใช้เวลาสังเกตเห็นลูกเทนนิสที่เคลื่อนที่โค้งในอากาศ และแน่นอนว่าเราก็สามารถพบปรากฏการณ์แมกนัสนี้ได้ในกีฬาอีกหลากหลายชนิดที่มีการใช้อุปกรณ์การเล่นที่เป็นลูกกลมๆ นั่นเอง

แหล่งที่มา

Takeshi Asal. (1998, June 1). The physics of football. Retrieved December 8, 2019, From https://physicsworld.com/a/the-physics-of-football

Nils Jacob Sand. (2019, February 11). The Magnus Effect. Retrieved December 8, 2019, From https://www.norwegiancreations.com/2019/02/the-magnus-effect/

พวงทิพย์ วีระณรงค์.การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2562. จาก https://tolgangzacub.wordpress.com/ฟิสิกส์/การเคลื่อนที่แบบต่างๆ/

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ปรากฏการณ์แมกนัส, การเตะบอล, บอลโค้ง
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 20 ธันวาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นายปทิต จตุพจน์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11212 การเตะบอลให้โค้งสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางฟิสิกส์ /article-physics/item/11212-2019-12-19-04-34-38
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
เทคนิคการจำแนกภาพ Image Processing แบบไอเกนเฟซ (Eigenface)
เทคนิคการจำแนกภาพ Image Processing แบบไอ...
Hits ฮิต (17761)
ให้คะแนน
ตามที่ก่อนหน้านี้เราเคยนำเสนอบทความเกี่ยวกับ Face recognition หรือ การจดจำใบหน้า ซึ่งเป็นการตรวจหาห ...
6G โครงข่ายในอีก 10 ปีข้างหน้า
6G โครงข่ายในอีก 10 ปีข้างหน้า
Hits ฮิต (9595)
ให้คะแนน
ปัจจุบันประเทศไทยเรากำลังใช้งานโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือที่เรียกว่า 4G ที่อาจเรียกไ ...
การปรับตัวในการทำงานอย่างสมาร์ต ๆ
การปรับตัวในการทำงานอย่างสมาร์ต ๆ
Hits ฮิต (12424)
ให้คะแนน
ยุคดิจิทัลเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงที่ทุกคนต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อให้ทันต่อโลกทันต ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)