logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ฟิสิกส์
  • เมื่อกาแล็กซีของเราไม่ใช่จานแบนๆอีกต่อไป

เมื่อกาแล็กซีของเราไม่ใช่จานแบนๆอีกต่อไป

โดย :
ปทิต จตุพจน์
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 05 พฤศจิกายน 2563
Hits
2085

           ถ้าพูดถึงกาแล็กซีแล้ว หลายๆคนคงนึกถึงหน้าตาของกาแล็กซีที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกังหันที่เปล่งประกรายไปด้วยแสงของดาวฤกษ์ต่าง ๆ ที่ดูสวยงาม กาแล็กซีแบบกังหันเป็นหนึ่งในรูปแบบของกาแล็กซีที่มีอยู่มากมายในเอกภพ กาแล็กซีทางช้างเผือกที่ดวงอาทิตย์และโลกของเราอาศัยอยู่นั้นก็เป็นกาแล็กซีกังหันเช่นเดียวกัน กาแล็กซีแบบกังหันนั้นถ้าดูจากภาพนอกแล้วก็จะพบว่าพวกมันมักจะดูคล้ายกับจานสองใบที่เอามาประกบกันอยู่จนตรงกลางนั้นมีลักษณะโป่งนู่นอยู่หน่อย ๆ ซึ่งเป็นบริเวณที่อุดมไปด้วยดาวฤกษ์มากมาย

11481 1

ภาพโครงสร้างของกาแล็กซีทางช้างเผือก
ที่มา https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Milky_Way_2005.jpg, https://www.nasa.gov/mission_pages/spitzer/multimedia/20080603a.html

           แต่เรารู้ได้ยังไงล่ะ ว่ากาแล็กซีของเรานั้นมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร การที่เรามองออกไปที่กาแล็กซีอื่นแล้วบอกได้ว่ากาแล็กซีนั้นเป็นแบบไหนนั้นง่ายมาก เพราะเราเห็นโครงสร้างของพวกมันค่อนข้างชัดเจน แต่กับกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรานั้นต่างออกไป เพราะเราเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือกและไม่สามารถขยับออกไปดูภาพรวมของกาแล็กซีตัวเองได้อย่างชัดเจน ถ้าจะให้เปรียบเทียบก็คงเหมือนกับการที่ต้องการที่จะทำแผนที่ของป่าแห่งหนึ่ง แต่ว่าตัวเรานั้นถูกผู้ติดอยู่กับต้นไม้ต้นนึง ฟังดูเป็นเรื่องยากมากทีเดียวเลยใช่ไหม

          วิธีที่นักดาราศาสตร์ใช้ในการทำแผนที่ของกาแล็กซีนั้นเป็นดังต่อไปนี้ พวกเขาใช้วิธีวัดระยะทางจากโลกไปยังดาวแปรแสงเซฟิด (Cepheid variable) ที่มีคุณลักษณะสว่างจ้าชัดเจน และมีความถี่ในการแปรแสงที่แน่นอนกว่า 1,300 ดวงของกาแล็กซีทางช้างเผือกเป็นหลักเทียบวัด หรือเป็นเทียนมาตรฐาน (Standard candle) เพื่อคำนวณระยะทางอย่างแม่นยำ จนได้แผนที่สามมิติของกาแล็กซีทางช้างเผือกที่ค่อนข้างแม่นยำ แต่นักดาราศาสตร์กลับต้องแปลกใจหลังจากที่ได้เห็นรูปร่างของแผนที่สามมิติ เพราะว่า กาแล็กซีทางช้างเผือกของเรานั้นไม่ได้เป็นการแล็คซี่กังหันปกติทั่วไปที่เหมือนกับจานสองใบประกบกัน แต่พบว่าที่ปลายของกาแล็กซีทั้งสองข้างนั้นมีการโค้งง้อบิดไปจนทำให้กาแล็กซีดูคล้ายกับรูปของอักษรตัวเอส (S) อยู่เล็กน้อย นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์บอกว่านี่เป็นสิ่งที่ค่อนข้างไม่ปกติมาก ๆ ซึ่งในตอนแรกนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ได้ตั้งสมมติฐานไปในทางที่ว่า การโค้งงอของกาแล็กซีนี้อาจเกี่ยวพันกับการมีกลไกลหรือพลวัตรบางอย่าง และอาจเกี่ยวข้องกับสสารมืดก็เป็นได้

           ล่าสุดนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งชาติอิตาลี (INAF) ได้ออกมาเผยผลการศึกษาใหม่ที่มารองรับการโค้งบิดที่ปลายกาแล็กซีทางช้างเผือกว่า สาเหตุที่แท้จริงนั้นเกิดจากการที่กาแล็กซีทางช้างเผือกไปชนเข้ากับกาแล็กซีแคระ ซึ่งเป็นบริวารของกาแล็กซีทางช้างเผือก โดยมีการสันนิษฐานว่าการชนกันนั้นเพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน หรือกระบวนการรวมตัวนั้นยังไม่เสร็จสิ้นนั่นเอง โดยพวกเขายังใช้ข้อมูลการโคจรของดวงฤกษ์ขนาดใหญ่มาทำการวิเคราะห์และคำนวณความเร็วในการเคลื่อนที่ของกาแล็กซี่ส่วนที่โค้งบิดนี้ด้วย ซึ่งจากการวิเคราะห์พวกเขาพบว่ากลุ่มของสสารที่เคลื่อนที่ในส่วนที่บิดเบี้ยวนั้นเป็นพวกของดาวฤกษ์แล้วแก๊สไฮโดรเจน ซึ่งใช้เวลามากถึง 600-700 ล้านปี ในการเคลื่อนที่ครบรอบซึ่งถือว่าเป็นระยะเวลาที่นานมาก ๆ (ดวงอาทิตย์ใช้เวลาประมาณ 220 ล้านปีในการหมุนรอบกาแล็กซี) นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์กล่าวว่าส่วนที่โค้งบิดพวกนี้เคลื่อนที่ได้ค่อนข้างช้ามาก แต่ก็ถือว่าเร็วกว่าอัตราที่ควรจะเป็น หากว่าความโค้งบิดนี้เกิดจากข้อสันนิษฐานอื่น ๆ ที่เคยมีการพูดถึงมา ทำให้การสันนิษฐานในครั้งนี้ดูมีน้ำหนักมากกว่าครั้งก่อน ๆ

แหล่งที่มา

ตอริก เฮ็งปิยา, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) . ระบบดาวคู่. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2563, จาก http://old.narit.or.th/index.php/astronomy-article/2504-exotic-binary-systems

ตอริก เฮ็งปิยา, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) .ดาวแปรแสง. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2563, จาก http://old.narit.or.th/index.php/astronomy-article/2504-exotic-binary-systems

ภาคภูมิ เหล่าตระกูล, พื้นฐานการรับรู้จากระยะไกล. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2563, จาก https://www.gistda.or.th/main/th/node/940

BBC THAI. (5 กุมภาพันธ์ 2562). กาแล็กซีทางช้างเผือกรูปทรงไม่เหมือนจานแบน แต่โค้งงอบิดเบี้ยวที่ริมขอบ. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2563, จาก https://www.bbc.com/thai/features-47130618

BBC THAI. (4 มีนาคม 2563). กาแล็กซีทางช้างเผือกบิดเบี้ยว-โคลงเคลง เพราะชนกับดาราจักรบริวาร. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2563, จาก https://www.bbc.com/thai/features-51734256

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
กาแล็คซี่,ทางช้างเผือก,กาแล็คซี่ทางช้างเผือก,กาแล็คซี่แบบกังหัน
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 02 พฤษภาคม 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นายปทิต จตุพจน์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11481 เมื่อกาแล็กซีของเราไม่ใช่จานแบนๆอีกต่อไป /article-physics/item/11481-2020-04-21-07-28-46
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
กินอิ่มแล้วจะเรอ แล้วอาการเรอเกิดจากอะไร!!
กินอิ่มแล้วจะเรอ แล้วอาการเรอเกิดจากอะไร...
Hits ฮิต (28614)
ให้คะแนน
เคยสังเกตไหมเมื่อเวลาเรากินอาหารอิ่มมากๆแล้วจะเรอ หรือเวลาเราดื่มน้ำอัดลมแล้วก็จะเกิดอาการเรอ ที่มี ...
รู้มั้ยขี้หู...มาจากไหน
รู้มั้ยขี้หู...มาจากไหน
Hits ฮิต (15518)
ให้คะแนน
หู เป็นอวัยวะของสัตว์ที่ใช้การดักคลื่นเสียง เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทการได้ยิน ส่วนรูหูส่วนนอกเท่า ...
ผึ้งเห็นภาพลวงตาเช่นเดียวกับมนุษย์
ผึ้งเห็นภาพลวงตาเช่นเดียวกับมนุษย์
Hits ฮิต (14389)
ให้คะแนน
ภาพลวงตา (Optical Illusions) หมายถึง ภาพที่ทำให้ความสามารถในการรับรู้และแปลความหมายของสิ่งที่มองเห็ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)