logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • ประกาศผลโนเบล 2019 มีอะไรบ้างไปดูกัน

ประกาศผลโนเบล 2019 มีอะไรบ้างไปดูกัน

โดย :
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
เมื่อ :
วันจันทร์, 30 มีนาคม 2563
Hits
7693

 

          รางวัลโนเบล เป็นสุดยอดรางวัลที่จะถูกมอบให้กับนักวิทยาศาสตร์ นักเขียน นักกิจกรรมทางสังคม และนักเศรษฐศาสตร์ ผู้มีผลงานอันโดดเด่นและเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ มีการมอบรางวัล 6 สาขา อันได้แก่ สาขาฟิสิกส์ สาขาเคมี สาขาวรรณกรรม สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ สาขาการส่งเสริมสันติภาพ และสาขาเศรษฐศาสตร์ คำว่า โนเบล มีที่มาจากชื่อของนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนที่มอบเงินของเขาเพื่อให้จัดงานมอบรางวัลนี้ (ชื่อเต็มคือ “อัลเฟรด โนเบล”) ซึ่งงานพิธีมอบรางวัลโนเบลจะจัดขึ้นทุกวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล โดยงานจะถูกจัดขึ้นที่กรุงสตอกโฮล์ม เมืองหลวงของประเทศสวีเดน เพื่อมอบรางวัล 5 สาขา และจะจัดขึ้นอีกที่คือกรุงออสโล เมืองหลวงของประเทศนอร์เวย์เพื่อมอบรางวัลให้สาขาการส่งเสริมสันติภาพ โดยรางวัลทั้งหมดจะถูกมอบให้ Nobel Laureate (ผู้ได้รับรางวัลโนเบล) โดยสมเด็จพระราชาธิบดีของทั้งสองประเทศ

11211

ภาพเหรียญรางวัลโนเบล
ที่มา https://pixabay.com, fill

ปี 2019 ผลงานที่ได้รับรางวัลในแต่ละสาขามีอะไรบ้าง?

         สาขาฟิสิกส์ ปีนี้เป็นปีของฝั่งฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่มีผลงานค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ (Exoplanet) และผลงานการพัฒนาทฤษฎีจักรวาลวิทยากายภาพ (Physical Cosmology) รางวัลถูกมอบให้กับนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ 3 ท่าน คือ ศาสตราจารย์ เจมส์ พีเบิลส์ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายแคนาดา รวมทั้งศาสตราจารย์ มิเชล มายอร์ และศาสตราจารย์ ดิดีเยร์ เกโลซ สองนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ชาวสวิส ทั้งนี้ การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ทำให้มนุษย์ได้ตระหนักว่าระบบสุริยะของเราไม่จำเป็นจะต้องมีสภาพแวดล้อมเหมือนกับระบบสุริยะอื่น ๆ แต่ก็ได้ค้นพบด้วยว่า ในระบบเหล่านั้นมีดาวเคราะห์ที่คล้ายคลึงกับโลกอีกมากมาย ซึ่งอาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ด้วย

          สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ด้วยผลงานวิจัยที่สามารถอธิบายการทำงานของเซลล์ในร่างกายมนุษย์ว่ามีความสามารถที่จะปรับตัวเมื่อรับรู้ว่าระดับก๊าซออกซิเจนในเลือดมีการเปลี่ยนแปลงไป ที่จะช่วยนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการรักษาโรคแบบใหม่ ๆ จึงทำให้ทีมนักวิทยาศาสตร์อันได้แก่ เซอร์ปีเตอร์ แร็ตคลิฟฟ์ จากสถาบันฟรานซิส คริก และมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด รวมทั้งชาวอเมริกัน 2 คน คือ ศ.วิลเลียม เคลิน จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ ศ.เกรก เซเมนซา จากมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ ในสหรัฐฯ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาในปีนี้ไปครอง

          สาขาเคมี ผู้เปิดประตูนำทางให้กับโลกเข้าสู่ยุคอุปกรณ์ใช้งานแบบเคลื่อนที่ ศ. วิตทิงแฮม จากมหาวิทยาลัยบิงแฮมตันของสหรัฐฯ, ศ. กู๊ดอีนัฟ จากมหาวิทยาลัยเทกซัส วิทยาเขตออสตินของสหรัฐฯ (อายุ 97 ปี ถือเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลที่มีอายุมากที่สุดในปัจจุบัน) และ ศ. โยชิโนะ จากมหาวิทยาลัยเมอิโจในเมืองนาโงยะของญี่ปุ่น ทั้งสามท่านมีผลงานการวิจัยเกี่ยวกับ “แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน” ที่สามารถชาร์จไฟซ้ำ เพื่อนำมาใช้งานได้หลายครั้ง ทำให้โลกเข้าสู่ยุคใหม่ไม่ต้องพึ่งพาพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลและเป็นการนำทางโลกสู่ยุคดิจิตอลอย่างแท้จริง

          สาขาเศรษฐศาสตร์ เมื่อความยากจนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกและรับมือได้ยากยิ่ง ดังนั้นวิธีการที่จะช่วยทั่วโลกในการรับมือปัญหาความยากจนอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องที่แสนสำคัญ ผลงานการวิจัยที่ชื่อเต็มไปด้วยความมุ่งหมายที่ดีอย่าง “การทดลองเพื่อทดสอบวิธีการขจัดความยากจนให้หมดไปจากโลก” หรือ “Experimental approach to alleviating global poverty” จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะได้รับรางวัลในปีนี้ ผลงานการวิจัยนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง ศ.เอสแตร์ ดูโฟล และ ศ.อภิจิต บาเนอร์จี จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) และ ศ.ไมเคิล ครีเมอร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

           สาขาวรรณกรรม เป็นปีที่พิเศษที่มีผู้ได้รับรางวัลในสาขานี้ 2 ปีพร้อมกัน (2018 และ 2019 เนื่องจากปีที่แล้วไม่ได้มีการมอบรางวัลในสาขานี้ จึงเกิดการรวบยอดมาปีนี้ 2 รางวัล) โดยรางวัลของปี 2018 ตกเป็นของ โอลกา ทอคาร์ตชูก นักเขียนชาวโปแลนด์ ที่ได้รับคำชมว่าสามารถ "มีจินตนาการที่มีการพรรณนาอย่างลึกซึ้งและรอบด้าน เป็นตัวแทนของการก้าวข้ามพรมแดนของชีวิตรูปแบบหนึ่ง" ผลงานที่โดดเด่น คือ Primeval and Other Times

          ส่วนรางวัลประจำปี 2019 ตกเป็นของ เพเตอร์ แฮนต์เคอ นักประพันธ์ชาวออสเตรีย ซึ่งเป็นทั้งกวี นักแต่งนิยาย และนักเขียนบทละครชาวออสเตรียวัย 76 ปี ที่ได้รับการยอมรับว่า “ได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีอิทธิพลด้วยภาษาที่งดงาม เกี่ยวกับประสบการณ์ของมนุษย์ทั้งลุ่มลึกและผิวเผิน”, “เป็นหนึ่งในนักเขียนภาษาเยอรมันที่ช่วยจุดประกายความคิดผู้คนได้มากที่สุด ” และ “เป็นนักเขียนที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในด้านนิยายร่วมสมัยมานานหลายสิบปี” ผลงานที่โดดเด่น คือ A Sorrow Beyond Dreams

          สุดท้าย สาขาสันติภาพ รางวัลตกเป็นของนักการเมืองจากทวีปแอฟริกาที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศเอธิโอเปีย นั่นคือ นายกรัฐมนตรีอาเบีย อาห์เหม็ด แห่งเอธิโอเปีย ผลงานที่โดดเด่นที่ผ่านมาคือความพยายามผลักดัน "ให้เกิดสันติภาพและความร่วมมือระหว่างประเทศ" โดยการลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่สามารถยุติความตึงเครียดทางทหารกับเอริเทรียที่ยืดเยื้อมา 20 ปี จนมีการสูญเสียนับหมื่นชีวิต

          แล้วเรามาติดตามกันว่า ในปี 2020 จะมีใครได้รับรางวัลนี้บ้าง ผู้เขียนไม่พลาดที่จะนำมาฝากให้อ่านกันอย่างแน่นอน

แหล่งที่มา

NGThai.  (2560, 9 ตุลาคม).  รู้จักกับรางวัลโนเบล.  สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2562, จาก https://ngthai.com/cultures/4901/what-is-the-nobel-prize/

BBC NEWS.  (2562, 15 ตุลาคม).  โนเบล : ใครได้รางวัลอะไรในปี 2019.  สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.bbc.com/thai/international-50049352

Matthew Flintoff.  (Oct 6,2019).  Nobel Prize: how do they pick the winners?.  Retrieved Nov 10, 2019, from https://www.bbc.com/news/av/science-environment-49938753/nobel-prize-how-do-they-pick-the-winners?intlink_from_url=https%3A%2F%2Fwww.bbc.com%2Fnews%2Ftopics%2Fcd0d8z6zxv8t%2Fnobel-prize&link_location=live-reporting-map

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
โนเบล, Nobel, วิทยาศาสตร์, วิจัย
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 10 พฤศจิกายน 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นายภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11211 ประกาศผลโนเบล 2019 มีอะไรบ้างไปดูกัน /article-science/item/11211-2019
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
สุดยอดแอปพลิเคชันแห่งการประเมินผลการเรียนรู้
สุดยอดแอปพลิเคชันแห่งการประเมินผลการเรีย...
Hits ฮิต (20452)
ให้คะแนน
การจัดการเรียนการสอนหนึ่ง ๆ ควรมีการตรวจสอบคุณภาพของผู้เรียน ผู้สอน และกระบวนการสอนเป็นระยะ ๆ (form ...
ภาษาสากลของโลกในอนาคต
ภาษาสากลของโลกในอนาคต
Hits ฮิต (21454)
ให้คะแนน
เชื่อว่าทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัจจุบัน ภาษาสากลของโลกคือ ภาษาอังกฤษ หรือ ไม่นานผ่านมานี้ เคยมี ...
esport กีฬาอิเล็กทรอนิกส์
esport กีฬาอิเล็กทรอนิกส์
Hits ฮิต (26520)
ให้คะแนน
จุดเริ่มต้นของ esport ในปี 1972 มีการแข่งขันวีดีโอเกมครั้งแรกเกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด เกมที่ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)